เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 15. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส
ว่าด้วยตัณหาตรัสเรียกว่ากระแส
คำว่า เป็นผู้ตัดกระแสได้แล้ว ไม่มีเครื่องผูก อธิบายว่า ตัณหาตรัสเรียกว่า
กระแส คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก... อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ
ตัณหาที่ตรัสเรียกว่า กระแสนี้ ผู้ใดละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว
ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ผู้นั้นตรัสเรียกว่า เป็นผู้
ตัดกระแสได้แล้ว
คำว่า ไม่มีเครื่องผูก ได้แก่ เครื่องผูก 7 อย่าง คือ

1. เครื่องผูกคือราคะ 2. เครื่องผูกคือโทสะ
3. เครื่องผูกคือโมหะ 4. เครื่องผูกคือมานะ
5. เครื่องผูกคือทิฏฐิ 6. เครื่องผูกคือกิเลส
7. เครื่องผูกคือทุจริต

เครื่องผูกเหล่านี้ผู้ใดละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว
ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ผู้นั้นตรัสเรียกว่า ไม่มีเครื่องผูก
รวมความว่า เป็นผู้ตัดกระแสได้แล้ว ไม่มีเครื่องผูก ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค
จึงตรัสว่า
ผู้ใดข้ามกามและเครื่องข้องที่ล่วงได้ยากในโลกได้แล้ว
ผู้นั้นย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ละโมบ
เป็นผู้ตัดกระแสได้แล้ว ไม่มีเครื่องผูก
[184] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
เธอจงทำกิเลสที่ปรารภสังขารในส่วนเบื้องต้นให้เหือดแห้งไป
เครื่องกังวลที่ปรารภสังขารในส่วนภายหลังอย่าได้มีแก่เธอ
ถ้าเธอจักไม่ถือสังขารในส่วนท่ามกลางไว้
ก็จักเป็นผู้เข้าไปสงบเที่ยวไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :520 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 15. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส
คำว่า เธอจงทำกิเลสที่ปรารภสังขารในส่วนเบื้องต้นให้เหือดแห้งไป อธิบาย
ว่ากิเลสเหล่าใดพึงปรารภสังขารที่เป็นอดีตเกิดขึ้น เธอจงให้กิเลสเหล่านั้นแห้งไป
เหือดแห้งไป คือ แห้งเหือดไป แห้งหายไป ทำให้หมดพืชพันธุ์ ละ บรรเทา ทำให้
หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีก รวมความว่า เธอจงทำกิเลสที่ปรารภสังขารในส่วน
เบื้องต้นให้เหือดแห้งไป อย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง กรรมาภิสังขารที่เป็นอดีตซึ่งยังไม่ให้ผลเหล่าใด เธอจงทำ
กรรมาภิสังขารเหล่านั้นให้แห้งไป เหือดแห้งไป คือ แห้งเหือดไป แห้งหายไป ทำให้
หมดพืชพันธุ์ ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีก รวมความว่า
เธอจงทำกิเลสที่ปรารภสังขารในส่วนเบื้องต้นให้เหือดแห้งไป อย่างนี้บ้าง

ว่าด้วยอนาคตตรัสเรียกว่าส่วนภายหลัง
คำว่า เครื่องกังวลที่ปรารภสังขารในส่วนภายหลังอย่าได้มีแก่เธอ อธิบาย
ว่า อนาคต ตรัสเรียกว่า ส่วนภายหลัง
เครื่องกังวลเหล่าใดพึงปรารภสังขารในอนาคตเกิดขึ้น ได้แก่ เครื่องกังวลคือ
ราคะ เครื่องกังวลคือโทสะ เครื่องกังวลคือโมหะ เครื่องกังวลคือมานะ เครื่องกังวล
คือทิฏฐิ เครื่องกังวลคือกิเลส เครื่องกังวลคือทุจริต
เครื่องกังวลเหล่านี้อย่าได้มีแก่เธอ คือ เธออย่าทำให้ปรากฏ อย่าให้เกิด
อย่าให้เกิดขึ้น อย่าให้บังเกิด อย่าให้บังเกิดขึ้น ได้แก่ จงละ บรรเทา ทำให้หมด
สิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีก รวมความว่า เครื่องกังวลที่ปรารภสังขารในส่วนภายหลัง
อย่าได้มีแก่เธอ
คำว่า ถ้าเธอจักไม่ถือสังขารในส่วนท่ามกลางไว้ อธิบายว่า รูป เวทนา
สัญญา สังขาร วิญญาณที่เป็นปัจจุบัน ตรัสเรียกว่า ส่วนท่ามกลาง
เธอจักไม่ถือ คือ ไม่ยึด ไม่ถือ ไม่ยึดถือ ไม่ใยดี ไม่พูดถึง ไม่ชอบใจสังขารที่
เป็นปัจจุบันด้วยอำนาจตัณหา ด้วยอำนาจทิฏฐิ คือ จักละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป
ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งความยินดี การบ่นถึง ความติดใจ ความถือ ความยึดมั่น
ความถือมั่น รวมความว่า ถ้าเธอจักไม่ถือสังขารในส่วนท่ามกลางไว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :521 }